กุ้งกุลาดำ
ลักษณะ:กุ้งกุลาดำมีหนวดลายจางมากไม่เด่นชัด แก้มอยู่ในแนวระนาบ และสันที่อยู่สองข้างโคนกรี ยาวเกือบถึงฟันกรีอันหลังสุด ซึ่งมีสันแนวข้างเฉียงชี้ไปทางนัยน์ตา นอกจากนี้มีลักษณะอื่น ๆ ที่เด่นชัดคือ ลำตัวสีแดงอมน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม เป็นเปลือกเกลี้ยงไม่มีขน มีลายพาดขวางด้านหลังประมาณ 9 ลาย และสีออกน้ำตาลเข้มข้างแถบสีขาว ด้านบนของกรีมีฟัน 6-8 ซี่ ด้านล่างมี 2-4 ซี่ ขอบปลายหางและขาว่ายน้ำมีขนสีแดง และมีขนาดตัวประมาณ 18 - 25 เซนติเมตร[1] สันกรียาวเกือบถึงคาราเปสมีสันตับ (Hepatic Crest) ยาวตรงขนานไปกับลำตัว หนวดยาวสีดำไม่มีลายชัดเจน ขาเดินมีสีแดงปนดำ ขาว่ายน้ำมีสีน้ำตาลปนน้ำเงิน โคนสีขาว ขาเดินคู่ที่ห้าไม่มี exopod
มี ลักษณะสำคัญในการจำแนกชนิด ดังนี้
1. ลำตัว มีแถบสีพาดขวาง แบ่งเป็นข้อปล้องชัดเจน สันที่ส่วนหลังของกรี (Postrostral Ridge) ไม่มีร่องกลาง สันที่เฮพพาติดยาวโค้ง
2. สี ขณะที่มีชีวิต กุ้งกุลาดำโตเต็มวัย ลำตัวสีเข้ม (น้ำตาลเข้ม) ส่วนของเปลือกคลุมหัวและลำตัวด้านบน มีแถบสีอ่อนพาดขวางสลับกับแถบสีน้ำตาลเข้มเกือบดำตลอดตัว ส่วนที่เหลือสีน้ำตาลอ่อนสลับกัน ในวัยรุ่นหรือยังไม่โตเต็มที่อาจเป็นสีฟ้าอมน้ำเงิน หรือมีลายขวางตลอดลำตัว
3. การแพร่กระจาย กุ้งกุลาดำพบแพร่กระจายทั่วไปในเขต Indo-west Pacific ตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถานถึงประเทศญี่ปุ่น หมู่เกาะมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย นิวกีนีถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย ออสเตรเลียถึงตอนเหนือของอ่าวมอริตัน ประเทศ ควีนสแลนด์ และประเทศไทย
4. ที่อยู่อาศัย (Habitat) กุ้งกุลาดำโตเต็มวัยชอบอาศัยพื้นดินโคลน โคลนปนทรายในทะเลลึก วัยอ่อนเป็นแพลงก์ตอนว่ายน้ำได้อย่างอิสระ วัยรุ่นเคลื่อนย้ายเข้าสู่ชายฝั่งเพื่อเลี้ยงตัว และเดินทางกลับสู่ทะเลเมื่อโตเต็มวัย เพื่อผสมพันธุ์
5. ขนาด กุ้งกุลาดำ เป็นกุ้งที่มีขนาดโตมากที่สุดยาวถึง 36.3 เซนติเมตร (363 มิลลิเมตร) จึงได้สมญานาม จัมโบ้ หรือ ไทเกอร์ ตามปรกติกุ้งเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้
ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น