วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

หอยหวาน

                                    หอยหวาน




                     รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


 


            หอยหวาน หรือ หอยตุ๊กแก หรือ หอยเทพรส (อังกฤษ: Spotted babylon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Babylonia areolata) เป็นหอยทะเลฝาเดี่ยวชนิดหนึ่ง

     มีเปลือกที่ค่อนข้างหนารูปไข่ ผิวเรียบสีขาวมีลวดลายสีน้ำตาลเข้ม มีหนวด 1 คู่ ตา 1 คู่ มีท่อ มีเท้าขนาดใหญ่ใช้สำหรับเคลื่อนที่ อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลน ในระดับความลึกตั้งแต่ 2-20 เมตร พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในต่างประเทศพบได้ที่ ทะเลฟิลิปปิน, ทะเลจีนใต้ และไต้หวัน กินอาหารโดยใช้อวัยวะที่เป็นท่อสีขาวยื่นออกมา โดยจะยื่นปลายท่อไปยังอาหารและส่งน้ำย่อยออกไปและดูดอาหารกลับทางท่อเข้าร่างกาย หลังกินอาหารแล้ว ก็จะเคลื่อนที่ไปฝังตัวใต้ทราย ซึ่งอาหารได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ชนิดต่าง ๆ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40-100 มิลลิเมตร

   ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ โดยหอยตัวเมียจะวางไข่เป็นฟัก วางไข่ครั้งละประมาณ 20-70 ฝัก โดยวางไข่ได้ทั้งปี ระยะเดือนมกราคมถึงมีนาคม จะวางไข่ได้มากที่สุด ฝักไข่มีความกว้างเฉลี่ย 10.32 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 29.31 มิลลิเมตร มีก้านยึดติดกับวัตถุในพื้นทะเล เช่น เม็ดทราย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 5-7 วัน ลูกหอยวัยอ่อนจะดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอน คือ ลอยไปมาตามกระแสน้ำ กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ระยะเวลาเติบโตจนเป็นวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 1 ปี

           ปัจจุบัน หอยหวานถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่ง นิยมรับประทานกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นอาชีพ แต่ทว่าปริมาณหอยที่ได้นั้นยังไม่เพียงพอต่อการตลาด




ปลาเสือพ่นน้ำ

                                   ปลาเสือพ่นน้ำ  





                         รูปภาพที่เกี่ยวข้อง





         ปลาเสือพ่นน้ำ (อังกฤษ: Archer fish, Blowpipe fish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Toxotes chatareus) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ(Toxotidae) มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม ปากกว้างมีขนาดใหญ่เฉียงลงด้านล่างและจะงอยปากยืดหดได้ มีตากลมโต เกล็ดสาก ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะใสโปร่งแสง พื้นลำตัวสีขาวอมเหลือง มีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่ ประมาณ 3-4 จุด ซึ่งนับว่าปลาเสือพ่นน้ำชนิดนี้เป็นปลาเสือพ่นน้ำชนิดที่มีจุดวงกลมนี้มากที่สุด และเป็นปลาเสือพ่นน้ำที่พบได้มากและแพร่หลายที่สุด

ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร นิยมว่ายหากินอยู่ตามผิวน้ำเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่เกิน 20 ตัว พบได้ตามแม่น้ำลำคลองทั่วไปจนถึงเขตน้ำกร่อยเช่น ป่าชายเลน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยด้วย สามารถฉีดพ่นน้ำจากปากใส่แมลงที่อยู่เหนือน้ำได้เหมือนปืนฉีดน้ำ นอกจากนี้แล้วยังกินสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น ปลาขนาดเล็ก, กุ้งฝอย เป็นต้น

มีความสำคัญต่อมนุษย์ในฐานะของการนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม





ปลาเก๋าแดง

                                      ปลาเก๋าแดง





                             รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




              ปลาเก๋าแดง (อังกฤษ: Blacktip grouper, Red-banded grouper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus fasciatus) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae)

    มีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว แบนข้าง หัวโต จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ฟันซึ่งมีอยู่ตรงขากรรไกรบนและล่างมีลักษณะเป็นเขี้ยวยาวและคม ครีบหลังยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งยาวกว่าส่วนที่เป็นก้านครีบฝอย ส่วนหน้าของครีบก้นมีก้านแข็งเป็นหนามแหลม ครีบหางมนกลม มีจุดเด่น คือ มีทั้งสีแดงสด, สีชมพูอ่อน และน้ำตาลปนแดง ขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมและขนาดของปลา ข้างตัวมีแถบสีแดงปนน้ำตาล 5 แถบ ขอบครีบหลังที่เป็นก้านครีบแข็งมีสีแดงปนน้ำตาล เกล็ดเล็กละเอียด

มีขนาดตั้งแต่ 15-40 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแนวปะการังและกองหินใต้น้ำ ตั้งแต่แอฟริกาใต้, ทะเลแดง จนถึงทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, คาบสมุทรเกาหลี และออสเตรเลีย

เป็นปลาที่มีรสชาติดี นิยมใช้ในการบริโภค



วาฬหัวทุย

                                    วาฬหัวทุย




                       ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วาฬหัวทุย




               วาฬสเปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย (อังกฤษ: Sperm whale ชื่อวิทยาศาสตร์: Physeter macrocephalus) เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นวาฬมีฟัน (Odontoceti) ชนิดที่ใหญ่ที่สุด

        วาฬสเปิร์มมีลักษณะเด่น คือ มีส่วนหัวใหญ่และยาวมากเกือบร้อยละ 40 ของลำตัว ลำตัวสีเทาดำผิวหนังเป็นรอยย่นตลอดลำตัว ส่วนหน้าผากตั้งฉากตรงขึ้นจากปลายปากบน และเป็นแนวหักลาดไปทางส่วนหลัง ท่อหายใจรูเดียว อยู่ส่วนบนเยื้องไปด้านซ้ายของหัวครีบหลัง มีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาตั้งอยู่ค่อนไปทางท้ายลำตัว และมีสันเป็นลอน ๆ ไปจนเกือบถึงโคนหาง ครีบข้างค่อนข้างเล็กปลายมนเหมือนใบพาย ไม่มีครีบหลัง ขากรรไกรล่างแคบยาวและเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนหัว ฟันเป็นเขี้ยวจำนวน 16-30 คู่ บนขากรรไกรล่าง ขากรรไกรบนไม่มีฟัน แต่จะมีช่องสำหรับรองรับฟันล่างเวลาหุบปากเท่านั้น อย่างไรก็ตามอาจพบฟัน 10-16 คู่ ในกระดูกขากรรไกรบนของวาฬที่มีอายุมาก ๆ นอกจากนี้แล้วบริเวณรอบ ๆ ปากจะเป็นสีขาว ซึ่งเชื่อกันว่าในที่ ๆ น้ำลึกสีขาวนี้จะเรืองแสงในความมืด ใช้เป็นเครื่องล่อเหยื่อต่าง ๆ ของวาฬสเปิร์ม

     มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 15-20 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 3.5-4.5 เมตร แม่วาฬใช้เวลาตั้งท้องนาน 16-17 เดือน ลูกจะอาศัยอยู่กับแม่เป็นเวลาประมาณ 13 เดือนจึงแยกออกหากินอิสระ ขนาดโตเต็มที่ยาว 12-18 เมตร น้ำหนักมากถึง 28 ตัน
วาฬสเปิร์ม เป็นวาฬที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และเป็นวาฬชนิดที่ดำน้ำได้ลึกที่สุด มีรายงานว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 1,000 เมตร โดยใช้เวลาประมาณ 40 นาที มีรายงานจากการติดตามวาฬที่ติดเครื่องหมายด้วยระบบโซน่า พบว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 2,800-3,000 เมตร โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง จากการสูดหายใจเพียงครั้งเดียวที่ผิวน้ำที่มีแรงกดดันเท่ากับที่มนุษย์หายใจ ซึ่งในระดับความลึกกว่า 1,000 เมตร แรงกดของอากาศมากกว่าที่ผิวน้ำ 100 เท่า บีบอัดปอดของวาฬให้เหลือเพียงร้อยละ 1 ของปริมาตรทั้งหมด[5] แต่ขณะที่ยังเป็นวาฬวัยอ่อนอยู่ จะยังไม่สามารถดำน้ำลึกได้เหมือนตัวที่โตเต็มวัย
         นอกจากนี้แล้ววาฬสเปิร์มยังเป็นวาฬชนิดที่ชอบกินหมึกเป็นอาหารมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีความยาวได้ถึง 14 เมตร ในระดับความลึกระดับ 1,000 เมตร หรือหมึกกล้วยยักษ์ (Architeuthis dux) ที่มีขนาดรองลงมา โดยอาจยาวได้ถึง 12 เมตร โดยมีการพบซากจะงอยปากของหมึกในกระเพาะของวาฬสเปิร์ม ซึ่งวาฬบางตัวจะมีผิวหนังที่เป็นรอยแผลจากปุ่มดูดของหนวดหมึกปรากฏอยู่ 





กุ้งกุลาดำ

                                      กุ้งกุลาดำ




                       ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กุ้งกุลาดำทะเล





        กุ้งกุลาดำ หรือ กุ้งม้าลาย (อังกฤษ: Tiger prawn; ชื่อวิทยาศาสตร์: Penaeus monodon[2]) เป็นกุ้งทะเล ขนาดประมาณ 18 - 25 เซนติเมตร มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ Penaeidae อาศัยอยู่ในเขตร้อน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันหลายชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบ แต่ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป คือ Penaeus monodon Frabricius และมีชื่อภาษาอังกฤษที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ใช้อยู่คือ Giant Tiger Prawn ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก ห่างออกจากฝั่งและชอบพื้นทะเลที่เป็นดินทราย สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทนอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงและความเค็มต่ำ เช่น บริเวณป่าชายเลนได้ดี และหาอาหารจำพวกแพลงก์ตอน, หนอน, แมลงน้ำ

ลักษณะ:กุ้งกุลาดำมีหนวดลายจางมากไม่เด่นชัด แก้มอยู่ในแนวระนาบ และสันที่อยู่สองข้างโคนกรี ยาวเกือบถึงฟันกรีอันหลังสุด ซึ่งมีสันแนวข้างเฉียงชี้ไปทางนัยน์ตา นอกจากนี้มีลักษณะอื่น ๆ ที่เด่นชัดคือ ลำตัวสีแดงอมน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม เป็นเปลือกเกลี้ยงไม่มีขน มีลายพาดขวางด้านหลังประมาณ 9 ลาย และสีออกน้ำตาลเข้มข้างแถบสีขาว ด้านบนของกรีมีฟัน 6-8 ซี่ ด้านล่างมี 2-4 ซี่ ขอบปลายหางและขาว่ายน้ำมีขนสีแดง และมีขนาดตัวประมาณ 18 - 25 เซนติเมตร[1] สันกรียาวเกือบถึงคาราเปสมีสันตับ (Hepatic Crest) ยาวตรงขนานไปกับลำตัว หนวดยาวสีดำไม่มีลายชัดเจน ขาเดินมีสีแดงปนดำ ขาว่ายน้ำมีสีน้ำตาลปนน้ำเงิน โคนสีขาว ขาเดินคู่ที่ห้าไม่มี exopod

มี ลักษณะสำคัญในการจำแนกชนิด ดังนี้
1. ลำตัว มีแถบสีพาดขวาง แบ่งเป็นข้อปล้องชัดเจน สันที่ส่วนหลังของกรี (Postrostral Ridge) ไม่มีร่องกลาง สันที่เฮพพาติดยาวโค้ง

2. สี ขณะที่มีชีวิต กุ้งกุลาดำโตเต็มวัย ลำตัวสีเข้ม (น้ำตาลเข้ม) ส่วนของเปลือกคลุมหัวและลำตัวด้านบน มีแถบสีอ่อนพาดขวางสลับกับแถบสีน้ำตาลเข้มเกือบดำตลอดตัว ส่วนที่เหลือสีน้ำตาลอ่อนสลับกัน ในวัยรุ่นหรือยังไม่โตเต็มที่อาจเป็นสีฟ้าอมน้ำเงิน หรือมีลายขวางตลอดลำตัว

3. การแพร่กระจาย กุ้งกุลาดำพบแพร่กระจายทั่วไปในเขต Indo-west Pacific ตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถานถึงประเทศญี่ปุ่น หมู่เกาะมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย นิวกีนีถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย ออสเตรเลียถึงตอนเหนือของอ่าวมอริตัน ประเทศ ควีนสแลนด์ และประเทศไทย

4. ที่อยู่อาศัย (Habitat) กุ้งกุลาดำโตเต็มวัยชอบอาศัยพื้นดินโคลน โคลนปนทรายในทะเลลึก วัยอ่อนเป็นแพลงก์ตอนว่ายน้ำได้อย่างอิสระ วัยรุ่นเคลื่อนย้ายเข้าสู่ชายฝั่งเพื่อเลี้ยงตัว และเดินทางกลับสู่ทะเลเมื่อโตเต็มวัย เพื่อผสมพันธุ์


5. ขนาด กุ้งกุลาดำ เป็นกุ้งที่มีขนาดโตมากที่สุดยาวถึง 36.3 เซนติเมตร (363 มิลลิเมตร) จึงได้สมญานาม จัมโบ้ หรือ ไทเกอร์ ตามปรกติกุ้งเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้






ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/










ปูลม

                                         ปูลม




                      รูปภาพที่เกี่ยวข้อง





            ปูลม หรือ ปูผี (อังกฤษ: Ghost crab) เป็นปูทะเลขนาดเล็กในสกุล Ocypode อยู่ในวงศ์ Ocypodidae อันเป็นวงศ์เดียวกันกับปูก้ามดาบด้วย

      ปูลมมักถูกจำสับสนกับปูทหาร ซึ่งอยู่ในสกุล Mictyris ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ปูลมจะมีลำตัวที่ใหญ่กว่ามาก และมีกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ไม่เหมือนปูทหารที่เป็นวงกลม และมีก้านตายาว ซ้ำยังมีพฤติกรรมการหากินที่ต่างกันออกไป กล่าวคือ ปูลมจะไม่ปั้นทรายเป็นก้อนเหมือนปูทหาร แต่จะใช้ก้ามคีบอาหารจำพวกซากพืช ซากสัตว์ และอินทรีย์สารต่าง ๆ เข้าปาก และมักจะทำรูอยู่ในป่าชายเลนที่เป็นเลนมากกว่า แต่ก็มีพบบ้างที่บริเวณหาดทราย

  ปูลมได้ชื่อว่าในภาษาไทยเนื่องจากเป็นปูที่วิ่งได้เร็วมาก และส่วนชื่อปูผีในภาษาอังกฤษ มาจากพฤติกรรมการหากินที่มักหากินในเวลากลางคืนมากกว่ากลางวัน ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์มาจากภาษากรีกคำว่า ocy หมายถึง "เร็ว" และคำว่า ποδός หมายถึง "เท้า" รวมความแล้วหมายถึงสัตว์ที่วิ่งเร็ว

  ปูลมพบทั้งหมด 28 ชนิด โดยชนิดที่พบได้ในประเทศไทยได้แก่ ปูลมใหญ่ (Ocypode ceratophthalmus) และปูลมเล็ก (O. macrocera) ซึ่งมีพฤติกรรมหากินในเวลากลางวันด้วย







ปลานกแก้ว

                                  ปลานกเเก้ว





                     รูปภาพที่เกี่ยวข้อง






           ปลานกแก้ว (อังกฤษ: parrotfish) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งในวงศ์ Scaridae ในอันดับปลากะพง (Perciformes)

  เป็นปลาที่มีขนาดโตเต็มที่มีประมาณ 30-70 เซนติเมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae) อาศัยอยู่ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในน่านน้ำไทยพบได้ในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบมากกว่า 20 ชนิด เป็นปลาที่มีฟันแหลมคมคล้าย ๆ จะงอยของนกแก้วอันเป็นที่มาของชื่อเรียก จะงอยปากยืดหดได้ เกล็ดมีขนาดใหญ่ เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหางกลมมนหรือตัดตรง เป็นปลาที่กินฟองน้ำ, ปะการังหรือสาหร่ายเป็นอาหาร บ่อยครั้งจะพบรวมฝูงขณะหาอาหาร เวลาว่ายนำจะดูสง่างามเหมือนนกกำลังบินในอากาศ

   ปลานกแก้วเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยปลาตัวผู้จะมีสีสันสวยงามปลาตัวเมีย ลำตัวรียาว ส่วนใหญ่มีครีบหางแบบเว้าโดยขอบบนและขอบล่างของครีบหางมักยื่นยาวออก มีฟันคล้าย ๆ จะงอยปากนกแก้วเพื่อนำมาใช้ขูดกินปะการัง และมีฟันอีกชุดในคอหอยด้วย ซึ่งเมื่อกัดแทะนั้นจะเกิดเป็นเสียง เวลาถ่ายจะถ่ายออกมาเป็นผงตะกอนซึ่งมีประโยชน์ต่อแนวปะการัง สามารถเปลี่ยนเพศได้ ออกหากินในเวลากลางวัน นอนหลับในเวลากลางคืน เมื่อนอนปลานกแก้วจะนอนตามซอกหินแล้วปล่อยเมือกออกมาห่อหุ้มร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายจากพวกสัตว์ทะเลต่าง ๆ เช่น พวกหนอนพยาธิหรือปรสิตที่จะมาทำร้ายหรือมารบกวน
     เป็นปลาที่สวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และรับประทานเป็นอาหาร











ปลากระเบนนก

                                   ปลากระเบนนก




                       ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลากระเบนนก




           ปลากระเบนนก (วงศ์: Myliobatidae, อังกฤษ: Eagle ray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Myliobatidae

      จัดเป็นวงศ์ใหญ่มีวงศ์ย่อยแยกออกไปจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดเป็นปลาที่อาศัยและหากินอยู่ในทะเล โดยมักจะพบรวมตัวกันเป็นฝูง ในบางครั้งอาจเป็นถึงร้อยตัว มีจุดเด่นคือ มีหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน[1] และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของสัตว์ปีก ปลายแหลม มีซี่กรองเหงือกทั้งหมด 5 ซี่ อยู่ด้านล่างของลำตัว ด้านท้องสีขาว มีส่วนหางเรียวกว่าและเล็กกว่าปลากระเบนในวงศ์ Dasyatidae

         ด้วยความที่มีครีบแยกออกจากส่วนหัวชัดเจน ทำให้ปลากระเบนในวงศ์นี้สามารถว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนการบินของนก จึงทำให้เป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งในบางชนิดอาจกระโดดขึ้นเหนือน้ำได้ด้วย โดยมากแล้วมักจะว่ายในระดับผิวน้ำหรือตามแนวปะการัง มีฟันที่หยาบในปาก หากินอาหารได้แก่ ครัสเตเชียน, หอย, หมึก, ปลาขนาดเล็ก รวมทั้งแพลงก์ตอนด้วยในบางสกุล ซึ่งเวลาหากินสัตว์ที่อยู่ตามหน้าดิน จะใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายเอา บางชนิดอาจว่ายเข้ามาหากินในแหล่งน้ำกร่อยแถบปากแม่น้ำหรือท่าเรือต่าง ๆ ได้ด้วย

            พบกระจายพันธุ์ในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นปลากระเบนขนาดใหญ่ มีขนาดความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร ซึ่ง ปลากระเบนแมนตา (Manta spp.) ซึ่งเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็อยู่ในวงศ์นี้ด้วย










หอยลาย

                                        หอยลาย





                   ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หอยลายทะเล 






         หอยลาย (อังกฤษ: Surf clam, Short necked clam, Carpet clam, Venus shell, Baby clam; ชื่อวิทยาศาสตร์: Paphia undulata) เป็นหอยฝาคู่ ที่อยู่ในวงศ์หอยลาย (Veneridae)

ลักษณะเปลือกมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ฝาทั้งสองฝามีขนาดเท่ากัน ผิวด้านนอกของเปลือกหอยเรียบ มีสีน้ำตาลอ่อน และมีลวดลายหยักเป็นเส้นคล้ายตาข่ายตลอดความยาวของผิวเปลือก เส้นลายหยักเหล่านี้จะมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนผิวเปลือกด้านในเรียบมีสีขาว ในส่วนของบานพับ ซึ่งเป็นส่วนต่อระหว่างฝาทั้งสองมีลักษณะคล้ายฟันซี่เล็ก ๆ ฝาละ 3 ซี่ พบกระจายพันธุ์ในน้ำลึกประมาณ 8.0 เมตร โดยขุดรูอยู่ใต้พื้นทรายลึกประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบมากที่ จังหวัดชลบุรี, บางปะกง, สมุทรปราการ, ตราด, สุราษฎร์ธานี

นับเป็นหอยลายชนิด 1 ใน 3 ชนิดในสกุล Paphia ที่พบได้ในน่านน้ำไทย และเป็นชนิดที่นิยมรับมาประทานมากที่สุด สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น ผัดน้ำพริกเผากับใบกะเพรา และนำไปแปรรูปส่งออกต่างประเทศ







วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

ปูก้ามดาบ

                                      ปูก้ามดาบ




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปูก้ามดาบ



      ปูก้ามดาบ หรือ ปูเปี้ยว (อังกฤษ: Fiddler crabs, Ghost crabs) เป็นปูทะเลขนาดเล็กสกุลหนึ่ง อยู่ในสกุล Uca ในวงศ์ Ocypodidae


      มีลักษณะโดยรวมคือ กระดองรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีก้านตายาว กระดองมีสัสันสวยงามต่าง ๆ ตัวผู้มีลักษณะเด่นอันเป็นที่มาของชื่อเรียก คือ มีก้ามข้างใดข้างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดใหญ่กว่าอีกข้างอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะใช้ก้ามข้างนี้ในการโบกไปมาเพื่อขู่ศัตรูและเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย อีกทั้งยังใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้กันอีกด้วย ขณะที่ปูตัวเมียก้ามทั้ง 2 ข้างจะเล็กเท่ากัน

   ปูก้ามดาบอาศัยอยู่ในป่าชายเลนหรือหาดทรายริมทะเล พบได้ทั่วไปในเขตแอฟริกาตะวันตก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรแปซิฟิก และอินโด-แปซิฟิก โดยใช้ก้ามข้างเล็กนั้นคีบหาอาหารและป้อนอาหารเข้าปาก อาศัยโดยการขุดรูอยู่ ต่อเมื่อน้ำลงก็จะออกมาหาอาหาร โดยเวลาจะลงรูจะใช้ข้างที่เล็กกว่าลงก่อน ซึ่งก้ามข้างที่ใหญ่ขึ้น เมื่อขาดไป ข้างที่เล็กกว่าจะใหญ่ขึ้นมาแทน และข้างที่เคยใหญ่ขึ้นอาจงอกมาเป็นเล็กกว่าหรือสลับกันไปก็ได้
ปูก้ามดาบ เป็นปูขนาดเล็กที่ไม่ใช้บริโภคกันเหมือนปูทะเลชนิดอื่น แต่ด้วยความที่มีสีสันสวยงาม และรูปลักษณ์ที่แปลก จึงนิยมนำมาเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง โดยอาจเลี้ยงได้ในน้ำที่มีความเค็มต่ำ แต่มิอาจจะรอดให้รอดได้ในน้ำจืด
ปูก้ามดาบเวลาผสมพันธุ์ ตัวเมียอาจเลือกตัวผู้เป็นร้อยตัว เมื่อจับคู่ได้แล้ว ตัวผู้จะเป็นฝ่ายนำตัวเมียลงไปผสมพันธุ์ในรู และตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลตัวเมียและไข่ที่บริเวณปากรู รอจนกว่าให้ตัวเมียฟักไข่จนออกมาเป็นตัวสมบูรณ์




ปลาซาบะ

                                       ปลาซาบะ




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลาซาบะทะเล



        ปลาซะบะ หรือ ปลาซาบะ (ญี่ปุ่น: さば Saba) เป็นชื่อของปลาทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Scomber จัดอยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae)จัดเป็นปลาแมคเคอเรลจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกระสวยหรือจรวด เป็นปลาผิวน้ำ อาศัยอยู่เป็นฝูง ว่ายน้ำได้รวดเร็ว กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร รวมถึงแพลงก์ตอนสัตว์เช่น โคพีพอด ด้วย      โดยมากเป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรและน่านน้ำเขตหนาว เช่น มหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนเหนือ แถบส่วนเหนือของทวีปแอฟริกา ไล่เรียงขึ้นไปทางทวีปยุโรป จนถึงแถบสแกนดิเนเวีย แต่ก็มีประชากรบางส่วนพบที่มหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น หรือจีน และสหรัฐอเมริกา หรือซีกโลกทางใต้ เช่น นิวซีแลนด์ ด้วย

แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
Scomber australasicus Cuvier, 1832 – ปลาโกมะซะบะ
Scomber colias Gmelin, 1789 – ปลาชับแมคเคอเรล
Scomber japonicus Houttuyn, 1782 – ปลาแปซิฟิกแมคเคอเรล
Scomber scombrus Linnaeus, 1758 - ปลาแอตแลนติกแมคเคอเรล


       ทั้ง 4 ชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ มีการซื้อขายกันไปทั่วโลก มีมูลค่าทางการตลาดสูงมาก ในประเทศไทยนำเข้ามาจากปากีสถาน, ญี่ปุ่น, อินเดีย และจีน ตามลำดับ โดยนำเข้ามาในรูปแบบของปลาแช่แข็ง ปลาซะบะนิยมนำมาปรุงสดหรือทำเป็นซูชิ เป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารญี่ปุ่น









วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

ปลาเเซลมอน

                                  ปลาเเซลมอน



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




        ปลาแซลมอน หรือ ปลาแซมอน (อังกฤษ: Salmon; /ˈsæmən/) เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลที่ว่ายเข้าสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ โดยคำว่า "แซลมอน" มาจากภาษาละตินคำว่า Salmo ซึ่งมาจากคำว่า Salire หมายถึง "ที่จะกระโดด"


        ปลาแซลมอน คือ ปลาที่อยู่ในอันดับ Salmoniformes และวงศ์ Salmonidae พบกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกทางเหนือ คือ อเมริกาเหนือ, อลาสกา, ไซบีเรีย, ยุโรปเหนือ, เอเชียเหนือ และเอเชียตะวันออก ปลาแซลมอนผสมพันธุ์ในน้ำจืดแต่ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร (ปลาน้ำกร่อย) มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ ปลาแซลมอนวางไข่ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวในทะเลสาบน้ำจืดหรือแม่น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนสูง เท่านั้นโดยปลาแซลมอนเพศเมียจะขุดรัง ด้วยปลายหางและวางไข่ หลังจากนั้นตัวผู้จะปล่อยสเปิร์มมาปฏิสนธิกับไข่ ตัวเมียจะใช้หางกลบไข่เพื่อให้ไข่ไม่ถูกกระแสน้ำพัดพาไปแล้วลูกปลาแซลมอนจะว่ายตามกระแสน้ำออกสู่ทะเลในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน เมื่อออกจากไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะอพยพไปสู่มหาสมุทรซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และเจริญเติบโต และเมื่อถึงฤดูวางไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะกลับไปวางไข่ที่บ้านเกิดของตัวงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีศึกษาพบว่าปลาแซลมอนที่ถูกวิจัยทั้งหมดอพยพกลับมาเพียงร้อยละ 10 ส่วนที่เหลือสูญหายในทะเล สิ่งที่นำทางลูกปลาแซลมอนให้กลับมาวางไข่ได้ถูกต้อง คือกลิ่นเฉพาะของแม่น้ำที่มันเกิดและพฤติกรรมแบบฝังใจในลูกปลาแซลมอนที่เกิดขึ้นทันทีที่มันฟักออกจากไข่ เป็นสิ่งที่ใช้นำทางปลาแซลมอนที่โตเต็มที่จากมหาสมุทรไปยังที่ที่ใช้วางไข่ สารประกอบของกลิ่นนั้นเป็นสารอินทรีย์ ระเหย และคุณสมบัติทางเคมียังไม่ทราบแน่ชัด ขณะนี้ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่า ปลาแซลมอนหาทางมายังปากน้ำได้อย่างไรโดยไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ในการนำทางมาจากทะเล การทดลองล่าสุดได้ให้ข้อคิดว่า ปลาตัวเต็มวัยได้รับการชักนำจากปรากฏการบนท้องฟ้าเช่น มีดวงดาวเป็นเครื่องนำทางหรือทิศทางหรือตำแหน่งของดวงอาทิตย์เป็นต้นในกรณีนี้ปลาแซลมอนจะมีความสามารถในการจับเวลาเสมือนหนึ่งเป็นนาฬิกาชีวภาพ ดังที่พบในสิ่งมีชีวิตอื่น


   ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99

ปลาทู

                                        ปลาทู



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลาทูทะเล


       

       ปลาทู, ปลาทูตัวสั้น หรือ ปลาทูสั้น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger brachysoma) เป็นปลาทูชนิดที่คนไทยนิยมบริโภคมากที่สุด



      ลักษณะของปลาทู ปลาทูมีลำตัวแป้นยาวเพรียว ตาโต ปากกว้าง จะงอยปากจะแหลม เกล็ดเล็กละเอียด มีม่านตาเป็นเยื่อไขมัน บนขากรรไกรมีฟันซี่เล็ก ๆ มีซี่เหงือกแผ่เต็มคล้ายพู่ขนนก มีครีบหลัง 2 อัน ครีบหลังอันแรกมีก้านแข็ง ส่วนอันหลังก้านครีบอ่อน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ครีบอกมีฐานครีบกว้าง แต่ปลายเรียว สีตัวพื้นท้องสีขาวเงิน บริเวณที่ชิดโคนครีบหลังตอนแรกมีจุดสีดำ 3-6 จุดเรียงอยู่ 1 แถว ผิวด้านบนหลังมีสีน้ำเงินแกมเขียว ช่วยในการพรางตัวให้พ้นจากศัตรู มีความยาวประมาณ 14-20 เซนติเมตร


       ปฤติกรรม พฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในน่านน้ำที่เป็นทะเลเปิด ได้แก่ อินโด-แปซิฟิก, อ่าวไทย, ทะเลอันดามัน ทะเลจีนใต้ และทะเลญี่ปุ่น โดยอาศัยใกล้ฝั่งที่มีสภาพน้ำลึกไม่เกิน 30 เมตร มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส หากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็ก


       การนำไปใช้ประโยชน์ ปลาทูนับเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในอาหารไทย มีการนำปลาทูมาปรุงเป็นอาหารมาช้านานแล้ว ทั้งนึ่ง, ทอด, ต้มยำ หรือทำน้ำพริกปลาทูซึ่งใช้เนื้อปลาทูโขลกผสมรวมกับ าย ทั้งกรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นตัวควบคุมระดับคอเลสเทอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด และกรดโคโคซาเฮ็กชิโนอิก (ดีเอชเอ) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์สมอง


      ในประเทศไทย แหล่งที่ได้ชื่อว่ามีปลาทูชุกชุมและรสชาติอร่อยแห่งหนึ่งคืออำเภอเมืองสมุทรสงคราม ปลาทูจากที่นี่มีชื่อเรียกว่า "ปลาทูแม่กลอง" ส่วนหน้ามีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ลำตัวสั้นแบน สีเงินหรืออมเขียว ตาดำ เนื้อแน่นแต่นุ่ม เมื่อกดลงไปที่ตัวปลา เนื้อปลาจะกลับคืนสภาพเดิมไม่บุ๋มลงไปตามรอยแรงกด รวมทั้งมีเอกลักษณ์สำคัญที่เรียกว่า "หน้างอ คอหัก




ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/

กระเบนเเมนตา

                                 กระเบนแมนตา



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




        ปลากระเบนแมนตา หรือ ปลากระเบนราหู (อังกฤษ: Manta rays) เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก (ครีบหู) ได้ถึง 6.7 เมตร หรือ 22 ฟุต มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กิโลกรัม หรือ 3,000ปอนด์ อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ แนวปะการัง

       จัดอยู่ในสกุล Manta (เป็นภาษาสเปนแปลว่า "ผ้าห่ม") ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) เดิมทีแล้ว ปลากระเบนแมนตาถูกจัดอยู่ในวงศ์ Mobulidae แต่ในปัจจุบันรวมอยู่ในวงศ์ปลากระเบนนก


       โดยทั่วไปปลากระเบนแมนตาจะมีหลังสีดำและท้องสีขาว แต่อาจพบตัวที่มีหลังสีฟ้าได้บ้าง ตาอยู่บริเวณข้างหัว และต่างจากปลากระเบนทั่วไป ปากอยู่ทางด้านหน้าของหัว มีช่องเหงือก 5 คู่ เหมือนปลากระเบนทั่วไป


       ครีบหูพัฒนาเป็น ติ่งลักษณะคล้ายเขา หรือที่เรียกว่าครีบหัว อยู่บริเวณด้านหน้าของหัวแบน ๆ ครีบดังกล่าวเจริญขึ้นในช่วงตัวอ่อน เลื่อนมาอยู่รอบปาก ทำให้เป็นหนึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังมีขากรรไกร ที่มีรยางค์พิเศษอันเป็นที่รู้จักมากที่สุดชนิดหนึ่ง (อีกชนิดคือ เต่าหก ((Manouria emys)) โดยเขาที่อ่อนนุ่มนี้มีไว้สำหรับโบกพัดเอาน้ำเข้าปาก เพื่อกินแพลงก์ตอน และเพื่อจะฮุบน้ำจำนวนมากต้องว่ายอ้าปากและพัดอาหารเข้าปากอยู่เสมอ


       ปลากระเบนแมนตาเคยหาอาหารตามพื้นท้องทะเลมาก่อน ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นกรองกินแพลงก์ตอนตามทะเลเปิดในปัจจุบัน ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้จนมีขนาดใหญ่มากกว่าปลากระเบนชนิดอื่น ๆ  ลักษณะการกรองกินทำให้ฟันลดขนาดลงเป็นซี่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่แอบอยู่ใต้ผิว คล้ายกับปลากระเบนทั่วไป มีหางเป็นเส้นยาว แต่หากปราศจากเงี่ยงที่ส่วนหาง และเกล็ดแหลมหุ้มลำตัวก็มีขนาดเล็กลง แทนที่ด้วยเมือกหนาหุ้มร่างกาย ส่วนท่อน้ำออกมีขนาดเล็กและไม่ทำหน้าที่ น้ำทั้งหมดไหลเข้าสู่ปากแทน เพื่อการว่ายน้ำที่ดี ปลากระเบนแมนตาวิวัฒนาการรูปร่างร่างกายให้เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และมีการพัฒนาครีบให้คล้ายปีกสำหรับโบยบินในท้องทะเล ขนาดตัวยักษ์ใหญ่และความเร็วชนิดใกล้เคียงจรวด ทำให้ปลากระเบนแมนตามีศัตรูตามธรรมชาติน้อยมาก โดยที่ศัตรูของปลากระเบนแมนตาในน่านน้ำไทยกลุ่มเดียว คือวาฬเพชรฆาต (Orcinus orca) และวาฬเพชรฆาตเทียม (Pseudorca crassidens) แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน


     โดยปกติแล้วกินแพลงก์ตอน, ตัวอ่อนปลา และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทั่วไปโดยการกรองน้ำที่ไหลเข้าสู่ปากโดยใช้ซี่เหงือก ซึ่งเรียกว่า แรม-เจ็ต (Ram-jet)


     ปลากระเบนแมนตา เดิมถูกจัดเป็นเพียงปลาชนิดเดียว และปัจจุบันถูกจำแนกออกเป็น 2ชนิด เมื่อไม่นานมานี้ ได้แก่
     1.ปลากระเบนแมนตาแนวปะการัง (Manta alfredi)
     2.ปลากระเบนแมนตามหาสมุทร (Manta birostris‎)


   โดยมีความแตกต่างกันทางรูปร่างภายนอก และพฤติกรรมบางประการเล็กน้อย และอาจเป็นไปได้ว่ามีชนิดที่ 3 อีก ที่ขณะนี้ยังไม่ได้ถูกจำแนก โดยพบที่แคริบเบียน แต่ก็มีนักอนุกรมวิธานบางรายเสนอให้ยุบสกุล Manta ไปรวมกับสกุล Mobula หรือปลากระเบนปีศาจแทน ปลากระเบนแมนตาทั้ง 2 ชนิด สามารถถูกพบเห็นได้บ่อยตามแนวปะการังของมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะหมู่เกาะมัลดีฟส์, หมู่เกาะสุรินทร์ รวมไปถึงหมู่เกาะสิมิลันของไทย โดยเฉพาะ หินแดง, เกาะบอน, เกาะตอรินลา, และเกาะตาชัย พบได้บ่อยในทางด้านอ่าวไทยเช่นกัน เช่น หินใบ, เกาะพงัน และกองหินโลซินอันห่างไกล
    
    ปลากระเบนแมนตาเป็นปลาอีกชนิดที่นักดำน้ำต้องการที่จะพบเห็นมากที่สุด ซึ่งมักจะถูกพูดถึงร่วมกับปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) เสมอ


      นอกจากนี้ ปลากระเบนแมนตายังเป็นปลากระเบนเพียงไม่กี่ชนิด ที่ไม่มีเงี่ยงพิษที่โคนหางเหมือนปลากระเบนชนิดอื่น ๆ




ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/

หอยเเมงภู่

                                     หอยเเมงภู่



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

    
   

         หอยแมลงภู่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Perna viridis) จัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสคาเป็นหอยสองฝา สีของเปลือกจะเงาสวยเเละ เปลี่ยนไปตามสภาพการอยู่อาศัย กล่าวคือ ถ้าอยู่ใต้น้ำตลอดเวลามีสีเขียวอมดำ ถ้าอยู่บริเวณน้ำขึ้นน้ำลง ถูกแดดบ้างเปลือกจะออกเหลือง เปลือกด้านนอกมีสีเขียว ส่วนท้ายจะกว้างกว่าส่วนหน้า เนื้อหอยมีสีเหลืองนวลหรือสีส้ม มีหนวดหรือเส้นใยเหนียวสำหรับเกาะหลักเรียกว่า เกสร หรือ ซัง


       หอยแมลงภู่ ขนาดความยาวของเปลือกหอยที่สามารถสืบพันธุ์ได้มีความยาวตั้งแต่ 2.13 เซนติเมตรขึ้นไป มีความยาวตั้งแต่ 4-20 เซนติเมตร เป็นหอยที่กระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลแถบอินโดแปซิฟิก กินอาหารแบบกรองกิน ซึ่งกินได้ทั้งแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ หอยแมลงภู่มีทั้งเพศแยก และมีสองเพศในตัวเดียวกัน มีการผสมพันธุ์นอกลำตัว หอยเพศผู้จะมีลำตัวหรือที่ห่อหุ้มตัวสีครีมหรือขาว ส่วนเพศเมียจะมีสีส้ม มีช่วงฤดูสืบพันธุ์อยู่ 2 ช่วงในรอบ 1 ปี คือช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ หอยแมลงภู่ อาศัยด้วยการเกาะตามโขดหินและตามไม้ไผ่บริเวณชายฝั่งทะเล ห่างฝั่งประมาณ 1,000-3,000 เมตร ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้ง 2 ฝั่งทะเล เป็นหอยที่นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น หอยทอด, ออส่วน เป็นต้น เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีการเพาะเลี้ยงกันมาเป็นเวลานาน โดยที่พันธุ์ของหอย เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจะอาศัยจากธรรมชาติ ที่เมื่อหอยในธรรมชาติได้ผสมพันธุ์และปฏิสนธิเป็นลูกหอยตัวอ่อน ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กลอยไปตามกระแสน้ำแบบแพลงก์ตอนแล้ว จะใช้วัสดุที่เพาะเลี้ยงปักลงไปในทะเล เพื่อให้ลูกหอยนั้นเกาะอาศัย แบ่งออกได้เป็น การเลี้ยงแบบปักหลักล่อลูกหอย, การเลี้ยงแบบแพ, การเลี้ยงแบบแขวนบนราวเชือก และการเลี้ยงแบบตาข่ายเชือก แบบที่นิยมเลี้ยงกันมาก คือ แบบปักหลักล่อลูกหอย  โดยใช้ไม้ไผ่หรือไม้ลวกในการล่อลูกหอยในระดับน้ำลึก 4-6 เมตร และเลี้ยงจนมีขนาดใหญ่ ถึงขนาดต้องการ บางแห่งนิยมใช้ไม้ไผ่ทำเป็นโป๊ะ เพื่อดักจับปลาและล่อลูกหอยในพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 1,600 ตารางเมตร จะปักหลักได้ประมาณ 1,200 หลัก ทั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 6-8 เดือน จะได้หอยขนาดความยาวเฉลี่ย 5-6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่สามารถส่งตลาด แต่ก็เป็นสัตว์ที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมาก เช่น อุณหภูมิร้อน หรือน้ำเสีย หรือมีน้ำจืดปะปนลงมาในทะเลเป็นจำนวนมาก หอยก็จะตาย ซึ่งภายในรอบปีสามารถเลี้ยงได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว เปลือกหอยสามารถนำไปบดเพื่อผสมเป็นอาหารสัตว์ และผสมทำเป็นยา เป็นต้น



ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/




วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

ฉลามวาฬ

                                    ฉลามวาฬ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฉลามวาฬ

         

           ปลาฉลามวาฬ (อังกฤษ: Whale shark) เป็นปลาฉลามเคลื่อนที่ช้าที่กินอาหารแบบกรองกิน เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุด ยาวถึง 12.65 ม. หนัก 21.5 ตัน แต่มีรายงานที่ไม่ได้รับยืนยันว่ายังมีปลาฉลามวาฬที่ใหญ่กว่านี้ เป็นปลาชนิดเดียวในสกุล Rhincodon และวงศ์ Rhincodontidae (ก่อนปี ค.ศ. 1984 ถูกเรียกว่า Rhinodontes) ซึ่งเป็นสมาชิกในชั้นย่อย Elasmobranchii ในชั้นปลากระดูกอ่อน ปลาฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปีปลาฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของปลาฉลามวาฬคือแพลงก์ตอน ถึงแม้ว่ารายการแพลนเน็ตเอิร์ธของบีบีซีจะถ่ายภาพยนตร์ขณะที่ปลาฉลามวาฬกำลังกินฝูงปลาขนาดเล็กไว้ได้

          ลักษณะของฉลามวาฬ : ของปลาฉลามวาฬที่แตกต่างจากปลาฉลามส่วนใหญ่ คือ หัวที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และปากที่อยู่ด้านหน้าแทนที่จะอยู่ด้านล่าง ฉลามวาฬ เกือบทั้งหมดที่พบมีขนาดใหญ่กว่า 3.5 เมตร ใช้เหงือกในการหายใจ มีช่องเหงือก 5 ช่อง มีครีบอก 2 อัน ครีบหาง 2 อัน และ ครีบก้น(หาง) 1 อัน หางของปลาฉลามวาฬอยู่ในแนวตั้งฉาก และโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา แตกต่างจากสัตว์เลือดอุ่นในทะเลที่หางอยู่ในแนวขนานและหายใจด้วยปอด อาทิ วาฬ, โลมา หรือพะยูน เป็นต้น

         ในการระบุตัวของปลาฉลามวาฬนั้น พิจารณาจากด้านข้างลำตัว ตั้งแต่ช่องเหงือกช่องที่ 5 จนถึงสิ้นสุดครีบอก โดยแต่ละตัวจะมีจุดที่แตกต่างกันออกไปเป็นอัตลักษณ์ประจำตัว
อาหาร: กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร โดยใช้วิธีกรองกิน แต่ลักษณะการกินอาหารไม่ใช่ปัจจัยที่นักวิทยาศาสตร์ใช้แบ่งปลาฉลามวาฬออกจากปลาฉลามชนิดอื่น ๆ เนื่องจากยังมีปลาฉลามอีก 2 ชนิดที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารแต่อยู่คนละอันดับกับปลาฉลามวาฬ

          ปลาฉลามวาฬปกติเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำลึก และจะขึ้นมากินแพลงก์ตอนในเวลากลางคืนบริเวณผิวน้ำ โดยใช้การดูดน้ำเข้าปากแล้วผ่านช่องกรอง โดยจะทิ่งตัวเป็นแนวดิ่งกับพื้นน้ำ ที่ออสลอบ ในจังหวัดเซบู ของฟิลิปปินส์ ชาวพื้นเมืองที่นั่นซึ่งดั้งเดิมมีอาชีพประมงจับปลาทั่วไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยการโปรยอาหารเลี้ยงปลาฉลามวาฬ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจนกลายเป็นไฮไลต์ของการท่องเที่ยวดำน้ำของที่นี่ โดยอาหารที่ป้อนนั้น คือ เคย และจะมีช่วงเวลาที่ป้อนตั้งแต่ 05.00 หรือ 06.00 น.-13.00 น. ในแต่ละวัน จากนั้นปลาฉลามวาฬก็จะว่ายออกไปทะเลลึกเพื่อหากินเอง ซึ่งเชื่อว่าวิธีการแบบนี้จะไม่ทำให้พฤติกรรมของปลาฉลามวาฬเปลี่ยนไป



    ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/

ฉลามหัวค้อน

ฉลามหัวค้อน


 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฉลามหัวค้อน


         ปลาฉลามหัวค้อน (อังกฤษ: Hammerhead shark) เป็นปลาฉลามในวงศ์ Sphyrnidae มีเพียงสกุลเท่านั้น คือ Sphyrna
ลักษณะของฉลามหัวค้อน:   มีรูปร่างที่แปลกตาแตกต่างไปจากปลาฉลามในวงศ์หรือสกุลอื่น ๆ คือ มีส่วนหัวที่แบนราบและแผ่ออกข้างคล้ายปีกหรือแลดูคล้ายค้อนทั้งสองข้าง โดยมีดวงตาอยู่สุดปลายทั้งสอง ปัจจุบัน ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีไว้เพื่ออะไร แต่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ช่วยให้การหาว่ายน้ำที่ช่วยส่งแรงยกตัวขึ้นหน้าด้าน ทำให้พุ่งตัวขึ้นในแนวดิ่งได้ดีขึ้น อีกทั้งยังใช้เป็นประสาทสัมผัสรับรู้และช่วยลดแรงต้านน้ำให้เหลือน้อยลงในการไล่งับอาหาร และในเวลาเอี้ยวหัวในเวลาว่ายน้ำ ซึ่งจากตำแหน่งของตาที่อยู่สุดปลายปีกสองข้างนั้น ทำให้ปลาฉลามหัวค้อนมีประสาทสายตาดีกว่าปลาฉลามจำพวกอื่น ๆ โดยสามารถมองเห็นภาพในมุมกว้างได้มากกว่าและสามารถทำให้มองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ มีรูจมูกที่แยกจากกันเพื่อประสิทธิภาพในการดมกลิ่น และยังสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ เพื่อจับหาที่อยู่ของอาหารได้ด้วย ไม่ว่าจะอยู่กลางทะเลหรือซ่อนอยู่บริเวณหน้าดินก็ตาม แต่ทว่าก็มีข้อเสียคือ ไม่สามารถที่จะเห็นภาพหรือสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในระยะใกล้ได้
มีสีลำตัวเป็นสีเทาอมน้ำตาลหรือสีเทาอมดำ หรือจนเกือบดำในบางชนิด ใต้ท้องเป็นสีขาว มีปากเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวอยู่ด้านล่างส่วนหัว
ปฤติกรรม:  ปลาฉลามหัวค้อน มีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 10-20 ตัว พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลแถบอบอุ่นทั่วทุกมุมโลก เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว มีขนาดลำตัวตั้งแต่ไม่เกิน 1.5 เมตร จนถึง 6 เมตร ชอบกินอาหารจำพวก ปลากระดูกแข็งขนาดเล็กกว่า รวมถึงปลากระเบนซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเหมือนกันด้วย นอกจากนี้ยังชอบกิน หมึก, กุ้ง ปู และหอย รวมทั้งอาจล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลขนาดใหญ่ เช่น โลมาหรือแมวน้ำ ได้ด้วยในบางชนิด โดยมักว่ายหากินตั้งแต่แนวปะการังไปจนถึงใต้ท้องทะเลลึกกว่า 275 เมตร ชอบว่ายน้ำโดยไม่หยุดไปมาตลอด ซึ่งสามารถว่ายน้ำได้ระยะไกล ๆ ในวันหนึ่ง ๆ โดยมีความเร็วในการว่ายประมาณ 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 25 ปี

  

ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/



แมงกระพรุนไฟ

                               แมงกระพรุนไฟ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แมงกะพรุนไฟ

               
                แมงกะพรุนไฟ หรือ ตำแยทะเล เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกจำพวกแมงกะพรุนสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Chrysaora (/ไคร-เซ-ออ-รา/) จัดอยู่ในชั้นแมงกะพรุนแท้ หรือไซโฟซัว
 โดยแมงกะพรุนไฟ มีลักษณะทั่วไปคล้ายร่ม แต่มีสีลำตัวและหนวดเป็นสีแดงสดหรือสีส้ม ด้านบนมีจุดสีขาวอยู่ทั่วไป สังเกตได้ง่าย ปากและหนวดยื่นออกมาทางด้านล่างหรือด้านท้อง เส้นหนวดมีจำนวนมากเป็นสายยาวกว่าลำตัว พบในทะเลทั้งบริเวณชายฝั่งและไกลฝั่ง   ในช่วงฤดูมรสุมอาจพบได้ในเขตน้ำกร่อย จัดเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงมากอีกจำพวกหนึ่ง เมื่อโดนต่อยจากเข็มพิษแล้วจะมีอาการเจ็บปวดที่บริเวณบาดแผล จะมีอาการเจ็บ ปวดบริเวณบาดแผลอย่างรุนแรงภายในระยะเวลา 44 นาที บางครั้งอาจพบหนวดแมงกะพรุนขาดติดอยู่บนผิวสัมผัส ผิวหนังมีแนวผื่นแดง หรือรอยไหม้ ตามรอยหนวด ปวดแสบปวดร้อน บวมแดงจากการอักเสบและอาจเป็นหนองจากการติดเชื้อสำทับ อาการบวมแดงอาจหายไปได้ในเวลาไม่ช้า แต่รอยไหม้และรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นจะต้องใช้เวลารักษานานหลายปี หรืออยู่ถาวรตลอดไป นอกจากนี้อาจมีอาการไอ, น้ำมูกและน้ำตาไหล และอาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อเป็นตะคริว, อ่อนเพลีย และหมดสติ จากการฉีดพิษที่สกัดจากแมงกะพรุนไฟเข้าไปในสัตว์ทดลองพบว่าทำให้การทำงานของตับและไตผิดปรกติ จนอาจเป็นอันตรายถึงตายได้ แต่ยังไม่มีรายงานว่าเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตมนุษย์ และผลที่ออกมาค่อนข้างทุกข์โศกพอสมควร
โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมงกะพรุนไฟนั้น คือ Chrysaora มีที่มาจากเทพปกรณัมกรีก คือ ไครเซออร์ซึ่งเป็นโอรสของโปเซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเลกับเมดูซ่า เป็นอนุชาของเพกาซัส โดยที่ชื่อนี้มีความหมายว่า "บุรุษผู้ถืออาวุธทองคำ  

  ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/

             

ปลาตีน

                                        ปลาตีน

                                            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลาตีน



         ปลาตีน คือปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อย Oxudercinae ในวงศ์ปลาบู่ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามชายทะเลโคลนและป่าชายเลนในเขตร้อนตั้งแต่เขตมหาสมุทรแอตแลนติก ชายฝั่งแอฟริกาจนถึงเอเชียแปซิฟิก มีความยาวลำตัวแตกต่างออกไปตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร ในชนิด Zappa confluentus จนถึงเกือบหนึ่งฟุต ในชนิด Periophthalmodon schlosseri

         ลักษณะและปฤติกรรมของปลาตีน:   หัวมีขนาดโต มีตาหนึ่งคู่ตั้งอยู่ส่วนบนสุดของหัวโปนออกมาเห็นได้ชัด ดวงตาสามารถกรอกไปมาได้ จึงใช้มองเห็นได้ดีเมื่อพ้นน้ำ สามารถเคลื่อนที่บนบกได้ โดยใช้ครีบอกที่แข็งแรงไถลตัวไปตามพื้นเลนและสามารถกระโดดได้ด้วย และสามารถใช้ชีวิตอยู่บนบกได้เป็นเวลานานเนื่องจากมีอวัยวะพิเศษอยู่ข้างเหงือกที่สามารถเก็บความชุ่มชื้นจากน้ำได้ และจะสูดอากาศบนบกเข้าปาก เพื่อนำออกซิเจนเข้าไปผสมกับน้ำเพื่อหายใจผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป ดังนั้น ปลาตีนจึงต้องทำตัวให้คงความชื้นอยู่ตลอด ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ตำแหน่งของปากอยู่ปลายสุดของหัวขนานกับพื้น หากินในเวลาน้ำลดโดยใช้ปากดูดกินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็กในพื้นเลน ทำให้แลดูผิวเผินเหมือนสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมากกว่าปลา
ปกติปลาตีนจะอาศัยอยู่รวมกันหลายตัวไม่มีออกนอกเขตของตัวเอง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ปลาตีนตัวผู้จะมีสีเข้มขึ้นและมีอาณาเขตของการสืบพันธุ์ โดยจะมีการสร้างหลุมซึ่งมันจะใช้ปากขุดโคลนมากอง บนปากหลุม เรียกว่า หลุมปลาตีน และมีพฤติกรรมหวงเขตแดนเมื่อมีปลาตีนตัวอื่นรุกล้ำ โดยจะแสดงการกางครีบหลังขู่ และเคลื่อนที่เข้าหาผู้รุกล้ำทันที ปลาตีนตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์ในหลุมที่ตัวผู้ขุดไว้

แหล่งที่อยู่ในประเทศไทย:
       อาศัยในป่าชายเลนในประเทศไทยมีกระจายเป็นตอน ๆ ริมฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชลบุรี, จังหวัดตราด เรื่อยลงไปถึงจังหวัดปัตตานี ส่วนทางฝั่งทะเลอันดามันพบตั้งแต่จังหวัดระนองลงไปสุด ชายแดนไทยที่จังหวัดสตูล
สำหรับปลาตีนชนิดที่พบได้ในประเทศไทย ได้แก่ Periophthalmus barbarus, Periophthalmodon schlosseri และ Boleophthalmus boddarti โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันออกไป เช่น จุมพรวด, ตุมพรวด, กำพุด, กระจัง หรือ ไอ้จัง เป็นต้น

 
ที่มา:  https://th.wikipedia.org/wiki/


หมึกแวมไพร์

                                  หมึกแวมไพร์          

                                                   ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หมึกแวมไพร์


      หมึกแวมไพร์ (อังกฤษ: Vampire squid; ชื่อวิทยาศาสตร์: Vampyroteuthis infernalis) เป็นมอลลัสกาประเภทหมึกชนิดหนึ่ง
หมึกแวมไพร์ เป็นสัตว์ที่มีอายุอยู่มานานกว่า 200 ล้านปีแล้ว โดยจัดอยู่ในวงศ์ Vampyroteuthidae และสกุล Vampyroteuthis ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสายที่เชื่อมต่อระหว่างหมึกสายกับหมึกกล้วย ซึ่งหมึกแวมไพร์ จัดเป็นหมึกที่อยู่ในอันดับของตนเอง
        หมึกแวมไพร์ ได้ชื่อนี้มาจากรูปร่างหน้าตาที่แลดูน่ากลัว โดยมีพังผืดเชื่อมต่อกันระหว่างหนวดแต่ละเส้นทั้งหมด 8 เส้น เสมือนร่มหรือครีบ แลดูคล้ายเสื้อคลุมตัวใหญ่ ใช้สำหรับว่ายไปมาเหมือนการบินของนกหรือค้างคาว แต่หมึกแวมไพร์กลับเป็นสัตว์ที่ไม่มีอันตรายใด ๆ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 28 เซนติเมตรเท่านั้น มีสีผิวน้ำตาลแดงปนดำ ด้านในของลำตัวเป็นสีดำสนิทและมีหนามแหลม ๆ เรียงตัวตามแนวของหนวด มีดวงตากลมโตสีแดงก่ำ หรือสีน้ำเงิน
        หมึกแวมไพร์ เป็นหมึกที่อาศัยอยู่ในทะเลลึกที่มีความลึกตั้งแต่ 300-3,000 เมตร เป็นสถานที่ ๆ ไม่มีแสง และมีปริมาณออกซิเจนน้อย แต่หมึกแวมไพร์ก็อาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี และมักตกเป็นอาหารของสัตว์ทะเลที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ จึงมีกลไกในการป้องกันตนเองด้วยการเรืองแสงลำตัวตัวเองได้ ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย ที่ส่องแสงเรือง ๆ เป็นสีฟ้า หรือสีน้ำเงิน ซึ่งทำให้ตาของผู้ที่มาคุกคามพร่ามัวไปได้




ที่มา:  https://th.wikipedia.org/wiki/




ปลาไหลมอเรย์

                                   ปลาไหลมอเรย์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลาไหลมอเรย์



        ปลาไหลมอเรย์ หรือ ปลาหลดหิน (อังกฤษ: Moray eel, Moray) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใชชืวิทยาศาสตร์ว่า Muraenidae อยู่ในอันดับปลาไหล (Anguilliformes)มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลทั่วไป ไม่มีครีบอก ครีบหลังเชื่อมต่อกับครีบก้นและครีบหาง โดยมีจุดเด่นร่วมกันคือ มีส่วนปากที่แหลม ไม่มีเกล็ดแต่มีหนังขนาดหนาและเมือกลื่นแทน เหงือกของปลาไหลมอเรย์ยังลดรูป เป็นเพียงรูเล็ก ๆ อยู่ข้างครีบอกที่ลดรูปเหมือนกัน เลยต้องอ้าปากช่วยหายใจเกือบตลอดเวลา คล้ายกับการที่อ้าปากขู่ นอกจากนี้แล้วภายในกรามยังมีกรามขนาดเล็กซ้อนกันอยู่ข้างใน ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วงคอหอย แต่จะออกมาซ้อนกับกรามใหญ่เมื่อเวลาอ้าปาก ใช้สำหรับจับและขบกัดกินอาหารไม่ให้หลุด


      ปลาไหลมอเรย์เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยการล่าเหยื่อด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางกลิ่น ที่เป็นแท่งเล็ก ๆ ยื่นอยู่ตรงปลายปาก 2 แท่ง คล้ายจมูก ซึ่งอวัยวะส่วนนี้มีความไวต่อกลิ่นมาก โดยเฉพาะกลิ่นคาวแบบต่าง ๆ เช่น กลิ่นเลือดหรือกลิ่นของสัตว์ที่บาดเจ็บมีบาดแผล อาหารได้แก่ ปลาทั่วไป รวมถึงสัตว์ที่มีกระดองแข็งเช่น กุ้ง, กั้ง, ปู รวมถึงหมึกด้วย  โดยปกติแล้วปลาไหลมอเรย์จะอาศัยอยู่ตามโพรงหินหรือซอกปะการังในแนวปะการัง โดยยื่นแต่เฉพาะส่วนหัวโผล่ออกมาราว 1/4 ของความยาวลำตัว พร้อมกับอ้าปากส่ายหัว เพื่อป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัยและหาเหยื่อ ที่จะออกมาว่ายน้ำนั้นจะเป็นช่วงเวลากลางคืนที่หาอาหาร ปลาไหลมอเรย์มีกรามที่แข็งแรงและฟันที่แหลมคม แม้จะมีหน้าตาน่ากลัว แต่ไม่ใช่เป็นปลาที่ดุร้าย กลับกันกลับเป็นปลาที่รักสงบ แต่จะจู่โจมใส่ผู้ที่บุกรุก โดยหลายครั้งที่นักประดาน้ำไปเผลอรบกวนโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็อาจถูกกัดเป็นแผลเหวอะหวะถึงขั้นนิ้วขาดได้ เพราะฟันที่แหลมคมและการกัดที่ไม่ปล่อย และอีกช่วงที่ปลาไหลมอเรย์จะดุร้าย คือ ในฤดูผสมพันธุ์

      ปลาไหลมอเรย์ มีทั้งหมดราว 70 ชนิด พบในทะเลเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก ส่วนใหญ่มีสีสันและลวดลายสวยงามแตกต่างกันออกไปตามแตค่ละชนิดหรือสกุล แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ย่อย ในบางชนิดที่มีขนาดเล็ก จะไม่ความยาวไม่เกิน 2 ฟุตและอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดด้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ขณะที่ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ (Gymnothorax javanicus) ยาวได้ถึง 3 เมตร น้ำหนัก 36 กิโลกรัม




   ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/

ปลาซ่อนทะเล

ปลาซ่อนทะเล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลาช่อนทะเล

        

      ปลาช่อนทะเล (อังกฤษ: Cobia, Black kingfish, Black salmon, Ling, Lemon fish, Crabeater, Aruan tasek) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rachycentron canadum อยู่ในวงศ์ Rachycentridae อันดับปลากะพง (Perciformes) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้และสกุลนี้

   มีความยาวได้เต็มที่ถึง 2 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 68 กิโลกรัม ลำตัวมีรูปร่างยาวและกว้างในช่วงตอนกลางและแคบลงในตอนปลายหาง ส่วนหัวแบน ตามีขนาดเล็ก ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย มีฟันแบบเล็กละเอียดและเรียวขึ้นบนอยู่บนขากรรไกร, ลิ้น และเพดานปาก ลำตัวเรียบมีเกล็ดขนาดเล็ก มีสีน้ำตาลเข้มแล้วจางเป็นสีขาวบริเวณ ส่วนท้อง ด้านข้างลำตัวมีแถบสีน้ำตาลเข้มเป็นแนวยาว 2 แถบ ซึ่งจะเห็นแถบได้ชัดในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ ครีบหลังอันแรกเป็นหนามแหลมสั้น เรียงแยกกันเป็นอิสระ 6-9 อัน ซึ่งทำให้จัดอยู่ในวงศ์ต่างหาก

ในวัยเจริญพันธุ์มีหางแบบเว้าลึก หรือแบบเสี้ยวพระจันทร์ ส่วนของครีบมีสีน้ำตาลเข้ม เป็นปลาที่ไม่มีถุงลมมี ลักษณะคล้ายปลาเหาฉลาม (Echeneidae) แต่ไม่มีแผ่นเกาะด้านหลัง มีลำตัวที่แข็งแรง และมีส่วนหางที่พัฒนาดีกว่า โดยส่วนหางพัฒนาจากกลมมนเป็นเว้าลึกในตัวเต็มวัย ในปลาช่วงวัยรุ่นมีแถบสีขาวและดำชัดเจน เป็นมีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ ชอบอยู่เดี่ยว ๆ ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์จะมารวมกันตามแนวหิน ซากปรักหักพัง ท่าเรือ แนวก่อสร้าง บางครั้งยังอพยพไปปากแม่น้ำและป่าชายเลนเพื่อหาสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ กินเป็นอาหาร

วางไข่บริเวณผิวน้ำ โดยเป็นไข่ลอยขนาดเล็ก 0.12 มิลลิเมตร ล่องลอยเป็นอิสระตามกระแสน้ำจนกว่าจะฟักเป็นตัว ลูกปลาวัยอ่อนมีสภาพเหมือนแพลงก์ตอน ซึ่งในช่วงสัปดาห์แรกจะยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องรอจนกว่าตาและปากได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น ในตัวผู้จะสมบูรณ์เพศเมื่ออายุ 2 ปี ส่วนในตัวเมียจะสมบูรณ์เพศเมื่ออายุ 3 ปี มีอายุขัยประมาณ 15 ปี หรือมากกว่านั้น การผสมพันธุ์วางไข่จะรวมกลุ่มบริเวณชายฝั่ง ในช่วงเดือนเมษายน-กันยายน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่น และ เขตร้อนทั่วโลก

เป็นปลาที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา และเป็น ปลาเศรษฐกิจที่นิยมบริโภคกันด้วยมีเนื้อรสชาติอร่อย สามารถปรุงได้ทั้งสดและแปรรูปเป็นปลาแห้ง โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นปลาที่ทางการโดย กรมประมง สนับสนุนให้ชาวประมงเลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์ ซึ่งในต่างประเทศมีการเพาะเลี้ยงกันมาอย่างยาวนานแล้ว






ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/

ปุม้า

                                        ปูม้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปูม้า


    

       ปูม้า (อังกฤษ: Flower crab, Blue crab, Blue swimmer crab, Blue manna crab, Sand crab; ชื่อวิทยาศาสตร์: Portunus pelagicus) จัดเป็นปูที่อาศัยอยู่ในทะเลชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Portunus ซึ่งพบทั้งหมด 90 ชนิดทั่วโลก และพบในน่านน้ำไทยราว 19 ชนิด

ลักษณะทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนตัว, อก และท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองหุ้มอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองจะเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ด้วยกัน คู่แรกเปลี่ยนแปลงไปเป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2, 3 และ 4 จะมีขนาดเล็กปลายแหลมใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้ายตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำ ขนาดกระดองสามารถโตเต็มที่ได้ราว 15-20 เซนติเมตร

การกระจายพันธุ์
    สำหรับปูม้าในประเทศไทยสามารถพบได้แทบทุกจังหวัด ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย โดยอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำและแถบชายฝั่งทะเล

การขยายพันธุ์
      ปูม้าตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันที่จับปิ้งและสี ตัวผู้มีก้ามยาวเรียวกว่า มีสีฟ้าอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปบนกระดองและก้าม พื้นท้องเป็นสีขาว จับปิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียวสูง ตัวเมียจะมีก้ามสั้นกว่ากระดองและก้ามมีสีฟ้าอมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวประทั่วไปทั้งกระดองและก้าม เมื่อถึงฤดูกาลวางไข่ ปูม้าตัวเมียจะมีไข่ติดอยู่บริเวณระยางค์ซึ่งเคยเป็นขาว่ายน้ำในระยะวัยอ่อน โดยในระยะแรกไข่จะอยู่ภายในกระดองต่อมากระดองทางหน้าท้องเปิดออกมาทำให้สามารถเห็นไข่ชัดเจน จึงมักเรียกปูม้าในระยะนี้ว่าปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง ไข่นอกกระดองนี้ในขณะที่เจริญแบ่งเซลล์อยู่ภายในเปลือกไข่ สีของไข่จะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองอมส้มเป็นสีเหลืองปนเทา สีเทาและสีเทาอมดำ ปูม้าที่มีไข่สีเทาอมดำนั้นจะวางไข่ภายใน 1-2 วัน






ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/

แม่เพรียง

                                   แม่เพรียง                                          ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แม่เพรียง

        

       

        แม่เพรียงหรือสัตว์พวกหนอนปล้อง หรือ แอนเนลิดา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Annelid) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังได้แก่ ไส้เดือนดิน ไส้เดือนทะเลและปลิงน้ำจืด ลำตัวกลมยาว คล้ายวงแหวนต่อกันเป็นปล้องอย่างแท้จริง อวัยวะภายนอกและภายในจัดเป็นชุดซ้ำๆกันในแต่ละปล้องไปตลอดตัว ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีส่วนน้อยที่เป็นปรสิต ผิวหนังปกคลุมด้วยคิวติเคิลบาง มีต่อมสร้างเมือก มีระยางค์เป็นแท่งแข็งหรือเดือยในแต่ละปล้อง ช่วยในการเคลื่อนที่ ลำตัวมีกล้ามเนื้อวงกลมและกล้ามเนื้อตามยาว ซีลอมแบ่งเป็นห้องๆตามลำตัวตามปล้องลำตัว การหายใจผ่านทางผิวหนัง ระบบขับถ่ายมีเนฟฟริเดียมปล้องละ 1 คู่ นำของเสียมาตามท่อ เปิดสู่ภายนอก ระบบประสาทมีปมสมอง 1 คู่เชื่อมไปยังเส้นประสาท

กลางตัวด้านล่างซึ่งมีปมประสาทและเส้นประสาทย่อย มีเซลล์รับสัมผัสกลิ่นและแสง ระบบสืบพันธุ์มีทั้งแบบแยกและไม่แยกเพศ แต่ไม่สามารถผสมพันธุ์ภายในตัวเองได้

แม่เพรียงหรือหนอนปล้องที่มีลำตัวเรียวยาว ร่างกายค่อนข้างแบนออกเป็นปล้องจำนวนมาก ด้านหน้ามีลักษณะคล้ายหัวโดยมีปากและเขี้ยว 1 คู่ที่ปาก มีอวัยวะรับสัมผัสคล้ายหนวด ถัดจากหัวและลำตัวมีลักษณะเป็นปล้องขนาดเท่าๆกัน อาหารที่แม่เพียงชอบกินได้แก่สาหร่ายทะเล เศษอินทรีย์ตามพื้นทะเล แม่เพรียงเป็นสัตว์แยกเพศแต่ละตัวมีเพียงเพศเดียวโดยอาจมีการเปลี่ยนรูปร่างและสีของลำตัวในช่วงฤดูผสมพันธุ์ บางชนิดมีการปล่อยร่างกายตอนปลายที่มีเซล,สืบพันธุ์ให้หลุดขาดออกไปทำให้เซลล์สืบพันธ์ผสมกันในน้ำทะเล










ที่มา:
https://th.wikipedia.org/wiki/




ฟองน้ำทะเล

                                    ฟองน้ำทะเล


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฟองน้ำทะเล




       ฟองน้ำหรือฟองน้ำทะเล เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวในไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน - porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัวซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว มีเซลล์เรียงกันเป็นสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล มีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ตัวอ่อนของฟองน้ำนั้นมีเซลล์ที่สามารถว่ายได้น้ำได้ เรียกระยะนี้ว่า แอมพิบลาสทูลา (Amphiblastula) โดยจะว่ายน้ำไปเกาะตามก้อนหิน เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะกลายเป็นฟองน้ำที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ฟองน้ำในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 7,000 สายพันธุ์ มักพบในเขตน้ำลึกกลางมหาสมุทร (ลึกประมาณ 8,500 เมตร)

ต้นกำเนิดของฟองน้ำอาจย้อนไปถึงยุคพรีคัมเบรียน (Precambrian) หรือประมาณ 4,500 ล้านปีที่แล้ว พิสูจน์โดยซากฟอสซิลของฟองน้ำ

นอกจากนี้แล้ว ฟองน้ำยังถือว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนสูงสุดในบรรดาอาณาจักรสัตว์ทั้งหมดอีกด้วย โดยมีอายุยืนได้ถึงหมื่นปี

การสืบพันธุ์:
แบบไม่อาศัยเพศ
    สืบพันธุ์โดยการแตกหน่อด้วยการสร้างเจมมูล (gemmule) การสร้างเจมมูลจะเกิดในฟองน้ำที่อาศัยอยู่ ในน้ำจืด เมื่อพบสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมเช่นอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป หรือแห้งแล้งเกินไป กลุ่มเซลล์อาร์คีโอไซต์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์อะมีโบไซต์ ซึ่งหลังจากนั้นจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วจึงสร้างหรือขวากมาห่อหุ้มไว้จนกลายเป็นเจมมูล ซึ่งทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี ถึงแม้ฟองน้ำตัวแม่จะตายไป เจมมูลจะยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมแล้ว เจมมูลจะรวมกลุ่มกันจนกลายเป็นฟองน้ำตัวใหม่ต่อไป
แบบอาศัยเพศ
    ฟองน้ำจะสร้างอสุจิและไข่จากเซลล์อาร์คีโอไซต์ ซึ่งอยู่ในชั้นเวนไคม์ กระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้นจะเกิดขึ้นในตัวของฟองน้ำ เมื่ออสุจิผสมกับไข่ได้จากไซโกต เจริญเติบโตจนเป็นตัวอ่อนที่ขนเซลล์รอบตัวแล้ว ตัวอ่อนจะเคลื่อนตัวออกจากตัวแม่ผ่านทางออสคูลัม เพื่อว่ายน้ำไปเกาะตามหินและสืบพันธุ์ฟองน้ำตัวใหม่ต่อ ๆ ไป




ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/

ทากทะเล

                                        ทากทะเล




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทากทะเล


      



         ทากทะเล (อังกฤษ: Nudibranch, Sea slug) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสกา เช่นเดียวกับหอย และหมึก จัดอยู่ในชั้นหอยฝาเดี่ยว ในอันดับย่อย Nudibranchia

    ทากทะเล มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีเปลือกห่อหุ้มลำตัว เพราะเปลือกลดรูปจนมีขนาดเล็กคลุมตัวไม่มิด หรือไม่มีเปลือกเลย ทากทะเลส่วนใหญ่มีสีสวยสดงดงาม บางชนิดมีหลายสีบนตัวเดียวกัน และสามารถปรับสีของตัวให้เข้ากับสภาพของแหล่งอาศัย สีที่ฉูดฉาดของทากทะเลทำให้สัตว์อื่นหลีกเลี่ยงที่จะกินเป็นอาหาร เพราะทากทะเลจะสร้างสารเคมีที่เป็นพิษสะสมไว้ตามผิว เพื่อป้องกันตัว บางชนิดมีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ทางด้านบนของหัวหรือลำตัว ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นเส้น เป็นกระจุก หรือเป็นแผ่น หรือคล้ายเขา และเป็นสัตว์ที่ไม่มีตาสำหรับการมองเห็น[1] ส่วนมากอาศัยอยู่ในแนวปะการัง และบริเวณใกล้เคียง กินอาหารพวกสาหร่าย, ฟองน้ำ, ดอกไม้ทะเล, ปะการังอ่อน, กัลปังหา และเพรียงหัวหอม ทั่วโลกพบประมาณ 2,000 ชนิด ในน่านน้ำไทยสำรวจพบประมาณ 100 ชนิด เช่น ทากเปลือย เป็นต้น




หอยมือเสือ

                                     หอยมือเสือ



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หอยมือเสือ





               หอยมือเสือ (อังกฤษ: Giant clam) เป็นสกุลของหอยสองฝาขนาดใหญ่ ในวงศ์หอยมือเสือ (Tridacninae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tridacna (/ไทร-แดก-นา/)
ลักษณะและปฤติกรรมของหอยมือเสือ: หอยมือเสือมีพฤติกรรมต่างจากหอยจำพวกอื่นตรงที่เปลือกด้านบนจะเปิดออกเพื่อรับแสงแดด จะเรียกเป็นด้านหน้าของหอยมือเสือและจะแผ่ส่วนแมนเทิล ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อออกมารับแสง ซึ่งส่วนเนื้อเยื่อจะมีสาหร่ายจำพวกไดโนแฟลกเจลเลต คือ สาหร่ายซูแซนเทลลจำนวนมากอาศัยอยู่ในแมนเทิลซึ่งการอยู่ร่วมแบบนี้ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ ซึ่งการอยู่แบบพึ่งพาอาศัย การสังเคราะห์แสงของสาหร่ายโดยสาหร่ายจะใช้ประโยชน์จากคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียที่หอยมือเสือปล่อยออกมา หอยมือเสือก็จะได้รับสารอาหารคืนจากที่สาหร่ายผลิตได้บางส่วน ดังนั้นจึงพบเห็นหอยมือเสือจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำใสและมีแสงส่องผ่านไปถึง อีกทั้งการที่หอยมือเสือมีสีสันต่าง ๆ ต่างกันทั้ง สีเขียว, สีน้ำเงิน ก็เป็นผลมาจากสังเคราะห์แสงของสาหร่ายนี้ โดยปกติจะพบหอยมือเสือได้ในระดับความลึกไม่เกิน 20 เมตร ส่วนต่อมาคือ ตรงรอยต่อด้านล่างของฝาหอย เป็นบานพับเปลือก จะมีส่วนที่ลักษณะเป็นช่องสำหรับให้เส้นใยเนื้อเยื่อที่เรียกว่า บิสซัส ยื่นออกมาทำหน้าที่เชื่อมยึดตัวหอยให้เกาะติดกับหินหรือวัสดุใต้น้ำ หอยมือเสือมีสองเพศในตัวเดียว โดยช่วงแรกยังไม่สามารถระบุเพศได้ จนอายุประมาณ 2 ปีขึ้นไป จะเป็นเพศผู้ มีการสร้างน้ำเชื้อ และเมื่ออายุประมาณ 4 ปีครึ่ง จะเปลี่ยนเป็นเพศเมีย เริ่มสร้างไข่เพื่อสืบพันธุ์ ในเขตร้อนหอยมือเสือสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งปี ขณะที่ในเขตอบอุ่นหอยจะสืบพันธุ์เฉพาะช่วงฤดูร้อนเท่านั้น

หอยมือเสือ จัดเป็นหอยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความยาวเปลือกได้ถึง 100-120 เซนติเมตร น้ำหนักได้กว่า 200 กิโลกรัม และมีอายุยาวได้ถึง 100 ปีหรือมากกว่านั้น ขนาดเล็กสุดยาวเพียง 15 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตน้ำตื้นตามแนวปะการังของน่านน้ำแถบอินโด-แปซิฟิก ในเขตน่านน้ำไทยแหล่งที่พบหอยมือเสือได้มากที่สุด คือ เกาะไข่ ในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ที่สามารถพบหอยมือเสือได้หลายขนาดและหลากหลายสีในเขตแนวปะการังน้ำตื้นรอบ ๆ เกาะ โดยเป็นหอยมือเสือทั้งจากการเพาะขยายพันธุ์และขยายพันธุ์กำเนิดเองในธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากการอนุรักษ์



ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/











































กั้ง

                                            กั้ง



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




       

       
กั้ง (อังกฤษ: Mantis shrimps, Stomatopods) คือสัตว์น้ำจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ในทะเล ในไฟลัมครัสตาเซียน ในอันดับสโตมาโตโพดา (Stomatopoda) ซึ่งมีอยู่หลากหลายสกุลและหลากหลายชนิด
    กั้ง โดยทั่วไปมีรูปร่างคล้ายกุ้งผสมกับตั๊กแตนตำข้าว ลำตัวยาวคล้ายตะขาบ หายใจด้วยเหงือกเช่นเดียวกับกุ้ง ลำตัวมีรูปร่างแบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 5 แต่ไม่ถึงปล้องที่ 8 กรี มีลักษณะแบนราบ มีขาทั้งหมด 3 คู่ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกตั้งแต่ 400 ล้านปีก่อน

มักอาศัยอยู่ในทะเลโคลน หรือ บริเวณปากแม่น้ำ หรือตามแนวปะการัง และพบได้ถึงระดับความลึกกว่า 1,500 เมตร กั้งเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดในโลกนี้มาก่อนกุ้ง มีจุดเด่น คือ มีดวงตาขนาดใหญ่ สามารถใช้สแกนมองภาพได้ดี โดยสามารถมองเห็นภาพชัดลึกได้ดี ตาแต่ละข้างของกั้งสามารถมองเห็นได้ 3 ตา และตาแต่ละดวงมองเห็นภาพได้ 3 ภาพ และสามารถกะระยะได้ดีมากเพื่อใช้ในการล่าเหยื่อ กั้งมีแก้วตาหลายพันชิ้น และสามารถมองเห็นสีได้ในระดับที่ซับซ้อน โดยถือว่าเป็นสัตว์จำพวกหนึ่งที่มีระบบการมองเห็นภาพดีที่สุดในอาณาจักรสัตว์โลก ไม่มีก้ามหนีบ แต่มีระยางค์ส่วนอกคู่ที่ 2 มีลักษณะเป็นก้ามสับขนาดใหญ่พับได้คล้ายมีดโกน และมีซี่ฟันแหลมคมเรียงกันเป็นแถวคล้ายหวี ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อหรือป้องกันตัว ซึ่งสามารถใช้สับน้ำให้เกิดเป็นแรงขนาดมากได้ จนอาจถึงทำร้ายสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น มนุษย์ให้ได้รับบาดเจ็บได้  กั้งถูกค้นพบแล้วกว่า 450 ชนิด ในประเทศไทยมีรายงานพบแล้วอย่างน้อย 61 ชนิด

กั้งนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารเช่นเดียวกับกุ้ง โดยปกติแล้วจะมีราคาสูงกว่ากุ้งธรรมดาหรือปูในบางชนิดนิยมนำมาแช่กับน้ำปลารับประทานกับข้าวต้ม เเละอีกหลายๆเมนู เป็นต้น







ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/




























ปูเสฉวน

                                     ปูเสฉวน





  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปูเสฉวน         





    
     ปูเสฉวน (อังกฤษ: Hermit crab) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ในไฟลัมอาร์โธรพอด ในไฟลัมย่อยครัสเตเชียนในอันดับฐานปูปลอม (Anomura) ในวงศ์ใหญ่ Paguroidea ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้อีก 7 วงศ์ (ดูในตาราง)

วงศ์

Coenobitidae Diogenidae Lithodidae Paguridae Parapaguridae Parapylochelidae Pylochelidae Pylojacquesidae
โดยรวมแล้ว ปูเสฉวนเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ประมาณ 1-6 เซนติเมตร มีขาทั้งหมด 10 ขา ไม่มีเปลือกแข็งแบบปูหรือกุ้ง จึงต้องอาศัยในเปลือกหอยเปล่า โผล่เฉพาะหัวและขา 2 คู่ออกจากเปลือก ส่วนขาอีก 2 คู่ใช้ยึดกับเปลือกหอย กินซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหาร มักอาศัยอยู่ตามหาดทรายชายทะเล บางชนิดอาจอาศัยอยู่ในน้ำลึก มีประมาณ 1,100 ชนิด บางสกุลอาศัยอยู่แต่เฉพาะบนบก ได้แก่ Coenobita

      ปูเสฉวนมีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ ด้วยการที่ตัวผู้จะต่อสู้กันด้วยก้ามเพื่อแย่งชิงตัวเมีย เหมือนกุ้ง หรือปูทั่วไป เมื่อตัวผู้ที่ชนะแล้วจะจับตัวเมียไว้ เมื่อตัวเมียลอกคราบ ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อ เข้าผสมบริเวณขาว่ายส่วนท้อง เกิดเมื่อการปฏิสนธิแล้ว ตัวเมียจะปล่อยไข่ไปในทะเลเพื่อปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปในทะเล ซึ่งลูกขนาดเล็กจะยังมีลักษณะไม่เหมือนตัวเต็มวัย จะต้องลอกคราบและมีพัฒนาการต่อไปเรื่อย ๆ ในปูเสฉวนบกก็มีพฤติกรรมเช่นเดียวกัน แต่กระทำกันบกบก และตัวเมียจะลงไปปล่อยในทะเล ก่อนที่ลูกเมื่อแรกเกิดจะกลับมาเติบโตและใช้ชีวิตอยู่บนบก




ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/
















ปลาหมอทะเล

ปลาหมอทะเล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลาหมอทะเล


            
 
     ปลาหมอทะเล (อังกฤษ: Giant grouper, Queensland grouper) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epinephelus lanceolatus ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังเล็กอยู่ ตามลำตัวมีลายสีเหลืองสลับ โดยเฉพาะบริเวณครีบต่างๆ

เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมกินอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว อาจจะกินปลาฉลามขนาดเล็กหรือเต่าทะเลวัยอ่อนได้ ฟันในปากมีขนาดเล็ก เป็นปลาที่สายตาไม่ดี ออกหากินในเวลากลางคืน แม้จะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่มีนิสัยไม่ดุร้าย เวลาขู่จะแสดงออกด้วยการพองครีบพองเหงือกคล้ายปลากัด ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ หรือกองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ พบในระดับความลึกตั้งแต่ 4–100 เมตร และยังชอบที่จะขุดหลุมคล้ายปลานิล พื้นหลุมแข็งบริเวณข้างหลุมเป็นเลนค่อนข้างหนา ปากหลุมกว้างประมาณ 50–100 เซนติเมตร


ถิ่นที่อยู่อาศัย: พบอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นในแถบอินโด-แปซิฟิก, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ จนถึงอ่าวเปอร์เซียนิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ

เป็นปลาที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และด้วยความใหญ่โตของร่างกาย ปลาหมอทะเลจึงมักนิยมเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่หรือในอุโมงค์ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี เป็นต้น และนิยมเลี้ยงลูกปลาขนาดเล็กในน้ำจืดเหมือนปลาสวยงามทั่วไปด้วย แต่ทว่าก็จะเลี้ยงได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น เมื่อโตขึ้น หากยังเลี้ยงในน้ำจืดอยู่ ปลาก็จะตายในที่สุด

นอกจากนี้แล้ว ทางกรมประมงยังได้เพาะขยายพันธุ์ลูกผสมระหว่างปลาหมอทะเลกับปลากะรังดอกแดง ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน ได้เป็นผลสำเร็จ โดยลูกปลาขนาดเล็กจะมีลวดลายคล้ายกับปลาเสือตอ ซึ่งเป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่มีชื่อเสียง ที่อยู่ต่างวงศ์กัน จนได้รับการเรียกชื่อว่า "ปลาเสือตอทะเล"







ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/


หอยหวาน

                                    หอยหวาน                                     หอยหวาน หรือ หอยตุ๊กแก หรือ หอยเทพรส (อังก...